วันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สิ่งเสพติด

สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต! ้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรม
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสียเงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสีย�! ��งินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ยากระตุ้น หรือกดระบบประสาทที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มต่างๆ (อ้างอิงจากสุขบัญญัติแห่งชาติ)



สารบัญ
ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้

ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

ประเภทของยาเสพติด
การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจาก........

ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง
เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้

สาเหตุของการติดยาเสพติด
ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ

ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
�
ป้องกันยาเสพติด

สำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา (กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพ ฯ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพ ฯ
ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2815241
สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2452733
สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2459340-9
โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2528111-7
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2461946
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร. (02) 5310080-8
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 4681116-20
โรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 4112191
ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.(02) 2512970
ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ สี่พระยา โทร. (02) 2364055
สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี

1 ความคิดเห็น:

PY106 กล่าวว่า...

ขอเพิ่มข้อมูลดังนี้ครับ
หน่วยงานกำกับดูแลด้านวัตถุเสพติดในประเทศไทยของกระทรวงสาธารณสุข

1. อย.
http://www.fda.moph.go.th

2. กองควบคุมวัตถุเสพติด
http://www.thaifda.com/narcotic/

3. กลุ่มตรวจสอบติดตามด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Official website:
http://www.fda.moph.go.th/depart/torsor/index-th.htm
Unofficial website:
http://inspectiondivision.googlepages.com/