วันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (HRH the Prince Charles, The Prince of Wales) มีพระนามเต็มว่า ชาร์ลส์ ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ วินด์เซอร์ (Charles Philip Arthur George Windsor) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 พระองค์เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์อังกฤษและเครือจักรภพ โดยดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ยกเว้นที่สกอตแลนด์ ซึ่งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ดยุคแห่งโรเตสเซย์ พระองค์เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 หากแต่มีลำดับพระอิสริยยศเป็นที่ 3 ในลำดับโปเจียมต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ
เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะว่าที่กษัตริย์พระองค์ต่อไปของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ไอร์แลนด์เหนือและประเทศในเครือจักรภพ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนับตั้งแต่ได้ทรงเจริญพระชนม์พอสมควร อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักจากการทรงเสกสมรสกับเลดี้ไดอานา สเปนเซอร์และความรักอันอื้อฉาวของพระองค์กับคามิลลา ปากเกอร์โบลส์

วัยเด็ก
โดยปกติแล้วพระราชวงศ์ที่มีพระชนม์ระหว่าง 5-8 พรรษานั้นจะได้รับการศึกษาส่วนพระองค์ที่พระอาจารย์เข้ามาจัดการสอนถวายที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม หากแต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก (และรัชทายาทของอังกฤษพระองค์แรก) ที่เสด็จเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน โดยทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮ้าส์ในเมืองลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่งเจ้าฟ้าชายฟิลิปส์พระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน
เจ้าชายทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากแคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยม

เจ้าชายแห่งเวลส์
ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดี้ฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก
มีคำร่ำลือว่า นอกจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์ คนรักเก่าของเจ้าชาย (และพระชายาพระองค์ปัจจุบัน) ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนพระองค์ให้เลือกหญิงสาววัย 19 ปี เลดี้ ไดอานา ผู้ช่วยครูโรงเรียนอนุบาลมาเป็นพระชายา
สำนักพระราชวังประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แขกจำนวน 3500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี
ไดอานาเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ

อภิเษกสมรส
เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี
เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี) อีกทั้งยังมีข่าวลือว่าแท้จริงแล้วพระองค์อาจไม่ใช่พระโอรสของเจ้าชายชาลส์ พระโอรส
เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค bulimia (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าฟ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากทรงโปรดลูกสาวของคามิลลามากอีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รี่อาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสกสมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ สงครามแห่งเวลส์

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทรงหย่า
ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2540
มีบางแหล่งข่าวระบุว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงอยู่เบื้องหลังอุบัติเหตุที่ปลงพระชนม์ไดอาน่า ตำรวจเริ่มการสืบสวนเมื่อปี 2004 หากแต่หยุดการสืบสวนลงเนื่องจากคำของร้องของเจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าชายแฮร์รี่

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ อภิเษกสมรสครั้งที่สอง
ตั้งแต่แรกเสด็จพระราชสมภพตราบจนสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จขึ้นครองราชย์
ตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธเสด็จขึ้นครองราชย์แต่ก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์
หลังทรงรับพระราชทานสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์


His Royal Highness Prince Charles of Edinburgh
His Royal Highness The Duke of Cornwall
His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์)
His Royal Highness The Prince of Wales
His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์)

วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 1276 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 733 - มีนาคม ค.ศ. 734
มหาศักราช 655 ค.ศ. 733 วันเกิด

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

น้องผึ้ง บึงสามพัน
น้องผึ้ง บึงสามพัน เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงเสียงดีหน้าใหม่ของวงการเพลงลูกทุ่งเมืองไทย โดยเพิ่งมีผลงานเพลงออกมาแค่ชุดเดียว แต่ก็ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี และสามารถคว้ารางวัลระดับประเทศมาครองจากผลงานชุดแรก น้องผึ้ง บึงสามพัน เป็นที่รู้จักจากเพลง " กองไว้ตรงนั้น "
น้องผึ้ง บึงสามพัน
ผลงาน

กองไว้ตรงนั้น(ดอย อินทนนท์)
ลมวอยคอยแฟน
จ๊บเจีย

วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


โดยทั่วไปคำว่า "ภูมิทัศน์" หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์ รับรู้ทางสายตาในระยะห่าง อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์และสรรพสิ่งมนุษย์สร้างในสภาพอากาศหนึ่งและช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมืองนอกจากนี้ยังมีการใช้คำ "ภูมิทัศน์" กับพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเด่นชัด เช่น ภูมิทัศน์ทะเล ภูมิทัศน์ภูเขา ภูมิทัศน์ทะเลทราย หรือ ภูมิทัศน์พระจันทร์ ซึ่งหมายถึงภาพรวมของพื้นที่บนผิวดวงจันทร์ที่มนุษย์อวกาศไปเยือน
ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Landscape มีผู้บัญญัติคำนี้ใช้แทนการทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2520 ในรายงานทางเทคนิคด้านภูมิสถาปัตยกรรม โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับภูมิทัศน์ ได้แก่ "ทิวทัศน์" (View) ซึ่งมีความหมายแคบเฉพาะภาพส่วนของธรรมชาติที่มีความสวยงาม
คำว่าภูมิทัศน์ยังหมายรวมถึง
ศิลปะภูมิทัศน์ (Landscape art) ได้แก่งานจิตรกรรมภาพวิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์หรือสื่ออื่นที่แสดงภูมิทัศน์
ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม หรือภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape architecture) ได้แก่ศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการวางแผน การออกแบบ และการจัดการงานภูมิทัศน์สาธารณะ งานภูมิทัศน์และสวนส่วนบุคคลซึ่งสามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยได้ดังนี้

  • การออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape design) ได้แก่การออกแบบที่ว่างทั้งในเมืองและชนบท
    ภูมิทัศน์วิศวกรรม (Landscape engineering) ได้แก่งานด้านเทคนิคในงานภูมิสถาปัตยกรรม
    การวางแผนภูมิทัศน์ (Landscape planning) ได้แก่การวางแผนพื้นที่ขนาดใหญ่ และ/หรืองานพัฒนาโครงการภูมิทัศน์ระยะยาว
    การจัดการงานภูมิทัศน์ (Landscape management) ได้แก่การดูแลและจัดการภูมิทัศน์มนุษย์สร้างและภูมิทัศน์ธรรมชาติ
    งานภูมิทัศน์สวน (Landscape gardening) ได้แก่งานออกแบบสวนในคฤหาสก์ขนาดใหญ่ ซึ่งนิยมทำและมีความสำคัญในคริสตศตวรรษที่ 18-19 ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ นับเป็นต้นตอของภูมิสถาปัตยกรรม
    ภูมิทัศน์ชุมชน (Urban landscape) ได้แก่การออกแบบหรือปรับปรุงคุณภาพทางทัศนียภาพในสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนของเมือง โดยเฉพาะที่เป็นชุมชนให้มีความร่มรื่น สวยงาม มีเอกลักษณ์และร่มรื่น
    ภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape ecology) ได้แก่สาขาย่อยในวิชานิเวศวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสาเหตุ ผลกระทบและกระบวนการของรูปลักษณ์ภูมิทัศน์ของพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง
    ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscapes) ได้แก่ "การรวมเข้าด้วยกันในงานของธรรมชาติและงานของมนุษย์" เป็นการแสดงให้เห็นภาพของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานตามกาลเวลาที่ล่วงเลยมา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากข้อจำกัดทางกายภาพและ/หรือโอกาสในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและจากการสืบทอดทางสังคม เศรษฐกิจและพลังอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งที่เกดภายในและที่ได้รับจากภายนอก

วันอังคารที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ไชยา สุริยัน
พ.ศ. 2505 - เรือนแพ พ.ศ. 2506 - ภูติพิศวาส ไชยา สุริยัน (2 มิถุนายน 2479 - ) นักแสดงเจ้าบทบาท เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม 3 ปี ซ้อน ระหว่างปี พ.ศ. 2505-2507
ไชยา สุริยัน มีชื่อจริงว่า หม่อมหลวงอภิรัฐ จรูญโรจน์ เป็นบุตรชายคนเดียวของ หม่อมราชวงศ์เจริญ จรูญโรจน์ และคุณระเบียบ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา เข้าสู่วงการโดยการชักนำของ สุรพงศ์ โปร่งมณี และ ศิริ ศิริจินดา แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่อง เห่าดง บทประพันธ์เรื่องแรกของ พนมเทียน คู่กับอมรา อัศวนนท์ ในปี พ.ศ. 2500
ไชยา สุริยัน เป็นพระเอกคนแรกที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ปีซ้อน ในปี 2505 จากเรื่อง เรือนแพ, ปี 2506 จากเรื่อง ภูติพิศวาส คู่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ และปี 2507 จากเรื่อง ธนูทอง คู่กับ พิศมัย วิไลยศักดิ์
ด้านชีวิตส่วนตัว ไชยา สุริยัน สมรสกับ เทียมแข กุญชร ณ อยุธยา บุตรสาวของ หม่อมหลวงขาบ กุญชร

วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 869
พุทธศักราช 869 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 326 - มีนาคม ค.ศ. 327
มหาศักราช 248 วันเกิด

วันศุกร์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


?
อินเตอร์ฟีรอน มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้นอินเตอร์ฟีรอน รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่เริ่มต้นและนโยบายวิกิพีเดีย หรือภาษาอื่นด้านซ้ายมือ




อินเตอร์ฟีรอน(interferon)


เอ็นอาร์ติ
เอ็นเอ็นอาร์ติ
พีไอ

วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พะโค
หงสาวดี หรือ พะโค ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bago หรือ Pegu ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของสหภาพพม่ามาก่อน ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางใต้ของ เมืองแปร เมืองคัง ยะไข่ อังวะ พุกาม

ประวัติ
หงสาวดีเป็นเมืองของชาวมอญมาก่อนในอดีต ก่อนที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะยึดครองได้ จนถึงสมัยพระเจ้านันทบุเรงที่ เสด็จหนีพระนเรศวรไปเมืองตองอู และเผาทำลายหงสาวดี หลังจากนั้นไม่นาน เมืองอังวะก็กลายมาเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่าโดยสมบูรณ์

วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พุทธศาสนาในประเทศสิงคโปร์พุทธศาสนาในประเทศสิงคโปร์
ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
พระพุทธศาสนาเริ่มต้นในประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย แต่ต่อมาชาวมาเลย์มุสลิมได้มาตั้งรกรากอยู่ และต่อมาก็มีชาวจีนโพ้นทะเลได้มาตั้งรกรากอยู่ที่สิงคโปร์ ได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานมาเผยแผ่ด้วย และเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากในประเทศนี้

สถานภาพ และการจัดตั้งองค์กรยุวพุทธ
ในประเทศสิงคโปร์มีวัดมหายานอยู่หลายแห่ง รวมทั้งสมาคมทางศาสนา ซึ่งทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ และดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
นอกจากวัดพระพุทธศาสนาแบบมหายานแล้ว ในสิงคโปร์มีวัดพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ซึ่งได้แก่ วัดไทย และวัดลังกา รวมอยู่ด้วย วัดไทยที่สำคัญมี 2 วัดคือ วัดอนันทเมตยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 และทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 อีกวัดหนึ่ง ชื่อ วัดป่าเลไลยก์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506


พระบาทสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หรือ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๐ ของกรุงศรีอยุธยา และพระองค์ที่ ๔ ของราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เจ้าฟ้าสุทัศน์พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์ และสมเด็จพระเอกาทศรถก็ตรอมพระทัยสวรรคตตามไปอีกพระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์จึงได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๓ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔ โดยส่วนพระองค์แล้วพระองค์มีพระเนตรเสียข้างหนึ่ง และทรงมีพระบุคลิกค่อนข้างอ่อนแอและที่สำคัญที่สุดคือพระองค์ไม่สนพระทัยเกี่ยวกับราชการบ้านเมืองเลย
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยเรือของญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวังหลวง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวสมเด็จพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำ
พระศรีเสาวภาคย์ เนื่องจากทรงไม่สนพระทัยราชการบ้านเมืองพระศรีเสาวภาคย์ทรงครองราชย์อยู่ได้ปีสองเดือนก็โดนขุนนางปลดจากราชสมบัติและนำไปสำเร็จโทษจึงเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา

วันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คือ โรงไฟฟ้าแบบความร้อน ซึ่งมีแหล่งพลังงานความร้อนคือเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโีรงไฟฟ้าชนิดที่ผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับการกำลังใช้งานที่จ่ายจริง ดังนั้นจึงจะมีประสิทธิภาพดีถ้าต้องจ่ายกำลังไฟฟ้าคงที่ (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำ สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืน) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์
ในปีพ.ศ. 2548 มีเครื่องปฏิกรณ์ทำงานอยู่ 441 เครื่องทั่วโลก รวมแล้วผลิตกำลังไฟฟ้าเป็น 1 ใน 6 ส่วนของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในโลก
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์