วันเสาร์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตราวัดความยาวของไทย เป็นหลักในการวัดความยาวต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีการวัดความยาวมาแต่สมัยก่อน ปัจจุบัน ประเทศไทย นิยมใช้ หน่วยเอสไอ เป็นมาตราฐาน
มาตราวัดของไทยในประวัติศาสตร์และวรรณคดี
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีข้อความต่อไปนี้อยู่ "เสาโคมชัยใช้ไม้ยาว 11 วา" (พระราชพิธีจองเปรียง) "เกยสูง 4 ศอก ไม้ยาว 4 ศอก" (พิธีกะติเกยา) "ศิวลึงค์ตั้งอยู่บนฐานที่เรียกว่าโยนิ สูงตั้งแต่ 5 นิ้ว 6 นิ้ว ขึ้นไปจน 2 ศอก เศษ 2 ศอก" (พิธีศิวาราตรี) "ใช้ผ้าลายหกคืบผืน 1 ห้าคืบผืน 1 สี่คืบผืน 1" (พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล) จะเห็นว่า หน่วยในมาตราวัดของไทยมี วา ศอก นิ้ว คืบ
พระราชพิธีสิบสองเดือน
แปลโดย ดร.ประเสริฐ ณ นคร มีข้อความเช่น "คนจะหลีกช้าง หลีกให้ไกล 30 วา 20 วา ผิช้างดุ ให้หลีกให้ไกล 110 วา 50 วา ผิหลีกม้าให้ไกล 1 วา 2 วา ผิงัวควายดุให้หลีกให้ไกล 3 วา 4 วา 5 วา 6 วา" มีหน่วยวัดเป็น วา
โคลงโลกนิติ
มีหน่วยวัดเช่น "ต้นกัลปพฤกษ์นั้นโดยสูงได้ 10 วา 2 ศอก โดยกว้างได้ 10 วา" "ชั้นฟ้าอันชื่อว่าดุสิดานั้นขึ้นไปเบื้องบนได้ 2,688,000,000 วา ผิแลจะคลนาด้วยโยชน์ได้ 336,000 โยชน์ จนถึงชั้นฟ้าอันชื่อว่านิมมานรดีนั้น" มีหน่วย วา ศอก โยชน์
พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา
มีข้อความ "สร้างพระมหาสถูป ณ เมืองเชียงแสน ซึ่งเรียกว่าวัดต้นแก้ว ก่อฐานพระเจดีย์กว้าง 15 วา สูง 1 เส้น 5 วา" "พระยาเมงรายได้ฟังคำอธิบายของสมเด็จพระร่วงเจ้าดังนั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่สหายเจ้าทั้งสอง ผิดังนั้นเราจะตั้งล่วงแป(ด้านยาว) 1000 วา ล่วงขื่อ(ด้านสกัด) 400 วา เถิด" เป็นต้น มีหน่วย วา เส้น
ดังนั้นตามที่เราทราบกัน หน่วยวัดของไทยที่ใช้กันมาแต่เดิมก็มี ศอก วา คืบ นิ้ว โยชน์ เส้นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเหล่านี้ก็คือ 12 นิ้วเป็น 1 คืบ, 2 คืบเป็น 1 ศอก, 4 ศอกเป็น 1 วา, 20 วาเป็น 1 เส้น, และ 400 เส้นเป็น 1 โยชน์
พงศาวดารโยนก
นิ้วของไทยก็ไม่ใช่เท่ากับ นิ้วของฝรั่งที่บอกว่าเป็นความยาวของข้าวบาเลย์ 3 เมล็ดเรียงกัน และก็ไม่ได้เท่ากับ นิ้วมาตรฐานในหน่วยอังกฤษปัจจุบัน แต่นิ้วของไทยนั้นใช้ความยาวเท่ากับ ข้อปลายของนิ้วกลาง ก็มีบทที่เกี่ยวกับขนาดความยาวเป็นองคุลีหรือนิ้วอยู่ คือ บทที่ว่า
งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม ดังขวากแซมเสี้ยมแซกแตกไสว
ใครทำชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง"
แสดงว่าหนามงิ้วนั้นยาวมาก ยาว 16 นิ้ว และคงอยู่ติด ๆ กัน เพราะถ้าอยู่ห่าง ๆ กัน คนที่ตกนรกโดนปีนต้นงิ้วคงเหยียบปีนได้สบาย
คำกล่าวของไทยอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับขนาดก็มีว่า ร่างกายของคนเรานั้น กว้างศอก ยาววา หนาคืบ ดังนั้นถ้าร่างกายของใครที่กว้างเกินศอก หนาเกินคืบของคนนั้น ก็เห็นจะต้องไปพิจารณาลดขนาดลงบ้างก็ดี
มาตราวัดขนาดยาวมากของไทย
แล้วขนาดที่เล็กกว่า นิ้ว มีอะไรบ้าง บางคนอาจเคยท่องได้ว่า 4 กระเบียด เป็น 1 นิ้ว แสดงว่ามีขนาดที่เรียกว่า กระเบียด อีกคำ บางแห่งมีคำ อนุกระเบียด อีก คือ 2 อนุกระเบียดเป็น 1 กระเบียด
ไม่มีมาตราวัดที่เล็กกว่านี้อีกแล้วของไทย มีแต่คำเล็ก ๆ ที่ไม่ใช่มาตราวัด เช่น ธุลี(ละออง, ฝุ่น) อนุภาค(ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา ภาษาอังกฤษใช้ว่า particle) อณู(ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู) และมีคำ ปรมาณู ซึ่งตรงนี้มีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจแต่ไม่ทราบที่มาว่า 36 ปรมาณู เป็น 1 อณู ใครทราบกรุณาให้ความรู้ด้วย จะขอบพระคุณยิ่ง
และมีมาตราวัดระยะห่างที่ใกล้กันมาก ๆ คือ ห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปด ซึ่งในพจนานุกรมบอกว่าเป็นภาษาพูด หมายถึงห่างกันนิดเดียว ซึ่งคำว่า ยาแดง ในที่นี้ คงหมายถึงยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง ซึ่งเป็นเส้นขนาดเล็ก ๆ อยู่แล้ว เอามาผ่าแปดส่วนอีก ขนาดก็ยิ่งเล็กลงไป บางทีก็ใช้คำว่า เส้นผมผ่าแปด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น