วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐



ไทรอยด์เป็นต่อมเล็กๆ แต่กลับส่งผลเสียอย่างร้ายกาจทีเดียวหากมันทำงานผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการท! ำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้



สารบัญ
ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก
ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ tetraiodothyronine (thyroxine หรือ T4) และ triiodothyronine (T3) โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยร่างกายจะเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลด



ลักษณะของต่อมไทรอยด์
โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่อง�! �นระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไป
สาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดัน! นั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อ�! ��ดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็� ��โรคนี้ขึ้นมา



สาเหตุ
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ



ประเภทความผิดปกติของไทรอยด์
ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น (ไฮเปอร์ฯ) สำหรับโรคไทรอยด์ที่เกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์เกิน จะทำให้มีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักลด ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย
Hyperthyroid คอพอกเป็นพิษ หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากเกินไป



ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน

โรค Grave's disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม
โรค Multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อน [nodule] ในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือหลายก้อน
Thyroiditis ช่องแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ

สาเหตุ

อารมณ์แปรปรวน
นอนไม่หลับ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ตาโปน
มือสั่น
ใจสั่น เหนื่อยง่าย
คอพอก
ประจำเดือนผิดปกติ
ขี้ร้อน
น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี

อาการ

เจาะเลือดพบว่า ค่า T3หรือ T4 สูง และค่า TSH ต่ำ
ทำไทรอยด์สแกน เพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือ มีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ

การวินิจฉัย
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือ

การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดใ! ห้ยาอีกครั้ง
การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม
ยาอื่น beta blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค

การรักษา
ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยเกินความต้องการ (ไฮโปฯ)
ส่วนคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้ สาเหตุของโรค



ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด
เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมน Thyroid stimulating hormone (TSH) ออกมามากเพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นที่เราเรียกว่าคอพอก goiter



ลักษณะ

เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ thyroiditis
เกิดจาการตัดต่อมไทรอยด์มากเกินไป
เกิดจากการได้น้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษ

สาเหตุ
ผู้ป่วยที่เป็นไม่มากอาจจะไม่อาการอะไร หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้นจนเกิดของอาการต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย คือ

อ่อนเพลีย
ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง
อารมณ์ผันผวน
เสียงแหบ
ขี้ลืม
น้ำหนักเพิ่ม
กลืนลำบาก
ขี้หนาว
เบื่ออาหาร

อาการ
โดยการเจาะเลือดตรวจหา TSH T3 T4จะพบว่าค่า T4 ปกติหรือต่ำแต่ค่า TSH จะสูงเป็นการยืนยันการวินิจฉัย



การวินิจฉัย
หากการวินิจฉัยไม่ผิดพลาดท่านจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าท่านจะป่วยจากโรคอื่น

โดยการให้ thyroid hormone ไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ T4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ไม่ควรเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะเพื่อปรับยาไทรอยด์การเจาะเลือดปีละครั้ง

การรักษา
ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณฮอร์โมนได้บ้างเช่นกัน



การวินิจฉัย
ต่อมใต้สมอง pituitary gland จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) and T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร

หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก Hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ
หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก Hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง

การตรวจเลือดหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน
คือการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือ Iodine ที่อาจสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ Thyroid scan คือ
Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนสูงมักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วน cold nodule มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5 % มะเร็งไทรอยด์ส่วนใหญ่เป็น cold nodule

บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ Thyroiditis
บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ hyperthyroid
แยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็น Hot หรือ Cold nodule

Thyroid scan
การใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้วงจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็น cyst



Needle aspirate
เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น cyst



การตรวจ ultrasound

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยไปเรียก Hypothyroid
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียก Hyperthyroid
ต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมกับตาโปนเรียก Graves' disease
ต่อมไทรอยด์อักเสบ Hashimoto's Thyroiditis
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เรียก Thyroid Nodules
มะเร็งต่อมไทรอยด์ Thyroid cancer
ไทรอยด์กับสุขภาพสตรี
ยารักษาต่อมไทรอยด์
I-131

โรคของต่อมไทรอยด์
มะเร็งต่อมไทรอยด์ แตกต่างจากการเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ เพราะมะเร็งต่อมไทรอยด์มักจะรักษาให้หายขาด ไม่มีอาการเจ็บปวด และการวินิจฉัยทำได้ง่ายพบได้ไม่บ่อย หากพบเร็วสามารถรักษาหายได้
ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องก้อนที่คอโดยที่ไม่มีอาการปวด แต่ต้องจำไว้ว่าก้อนที่ต่อมไทรอยด์ร้อยละ 90 ไม่เป็นมะเร็ง แต่เราไม่สามารถแยกเนื้อดีหรือมะเร็งโดยการตรวจร่างกายหรือจากประวัติหรือแม้กระทั่งการเจาะเลือด
การวินิจฉัยทำได้โดยการใช้เข็มเจาะเนื้อต่อมไทรอยด์ไปตรวจโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ แต่ก็มีบางรายที่มาด้วยเรื่องต่อมน้ำเหลืองโต หรืออาการเสียงแหบเนื้อจากก้อนไปกดเส้นประสาท



มะเร็งต่อมไทรอยด์



ชนิดของมะเร็งไทรอยด์
Well-Differentiated Thyroid Cancer เป็นมะเร็งที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ปกติแบ่งเป็นสองชนิดคือ papillary และ follicular มะเร็งนี้พบประมาณร้อยละ 90 ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ผลการรักษาค่อนข้างดี สาเหตุมักจะเกิดจากการได้รับรังสีรักษาในวัยเด็ก เช่นการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง



Well-Differentiated Thyroid Cancer
เมื่อส่องจากกล้องจุลทัศน์จะพบเป็นตุ่มยื่นออกมา มะเร็งชนิดนี้พบบ่อยที่สุดของต่อมไทรอยด์คือพบได้ร้อยละ 70-80% มะเร็งชนิดนี้พบได้ทุกอายุ ก้อนมะเร็งโตช้า ประมาณหนึ่งในสามพบว่ามะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองแต่ผลการรักษาก็ได้ผลดีแม้ว่าจะมีการแพร่กระจายไปแล้ว ดังนั้นในการผ่าตัดรักษาจึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแบบมากมาย



Papillary
มะเร็งชนิดนี้พบได้ร้อยละ 10-15% ของมะเร็งไทรอยด์ พบในคนสูงอายุกว่าชนิด papillary มะเร็งชนิดนี้แพร่กระจายง่ายกว่าชนิดแรก หากมะเร็งไม่แพร่กระจายการรักษามักจะได้ผลดี



Follicular
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก หากเป็นมะเร็งชนิดที่แพร่กระจายก็อาจจะต้องต่อมตัดไทรอยด์ทิ้งทั้งหมด แต่หากเป็นชนิดที่ไม่แพร่กระจายอาจจะตัดเนื้อต่อมไทรอยด์บางส่วนออก การให้ไอโอดิน 131



การรักษา
เนื่องจากมะเร็งต่อมไทรอยด์อาจจะเกิดซ้ำได้ดังนั้นอาจจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นระยะ ทำ ultrasound ที่คอ หรือทำ thyroid scan การเจาะเลือดเพื่อตรวจ thyroglobulin จะพบว่าสูง การให้ฮอร์โมน เนื่องจากว่าการรักษามีการตัดต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนและมีการรับประทานน้ำแร่จึงต้องให้ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต และการได้รับฮอร์โมนยังป้องกันการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง



การติดตามการรักษา
จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ



ต่อมไทรอยด์กับสตรี
พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษหรือเป็นโรค Graves' disease เมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษา Graves' disease ด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน



การตั้งครรภ์
มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU Metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้



การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ Graves' disease ขณะตั้งครรภ์
ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์



การให้ฮอร์โมนไทรอคซิน Thyroxin ระหว่างการตั้งครรภ์
ไม่ควรตรวจทาง thyroid scan หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษาเช่นฮอร์โมน Thyroxinและ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย



ระหว่างการให้นมบุตร
ทั้งคอพอกเป็นพิษหรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง



การเป็นหมัน
คอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประจำเดือนมากกว่าคนปกติ



การมีประจำเดือน



ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วย



การดูแลตัวเอง
ขณะนั่งสมาธิ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทำงานช้าลง เช่น ชีพจร การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำให้ปริมาณการใช้ออกซิเจน ตลอดจนการเผาผลาญในร่างกายลดลงด้วย เราจึงรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อวัดระดับกรดแล็คติค (Lactic Acid) ในเลือดก็มีค่าลดลงเช่นกัน โดยคนที่มีระดับกรดแล็คติคมากเกินไป จะส่งผลให้มีอาการเครียด วิตกกังวล จนถึงขึ้นตื่นตระหนกทีเดียว และเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอ�! ��ก็จะพบว่ามีคลื่นอัลฟ่า (Alfa Wave) ในสมองเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นคลื่นที่ส่งผลทำให้จิตใจสงบ เพราะในสมองของคนเรามีสารสื่อประสาทหรือสารเคมีอยู่มากมาย หากสารบางอย่างลดน้อยหรือเพิ่มมากเกินไป ย่อมทำให้ระบบเสียสมดุล จนแสดงออกมาเป็นความผิดปกติต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ถ้า"ซีโรโตนิน" ลดน้อยลง คนนั้นจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ หรือถ้ามี "เอ็ปเป็บนิซ! ิน" หรือ "นอร์เป็บนิซิน" มา� ��เกินไป ก็จะมีอาการเครียด วิตกกังวล
การนั่งสมาธิจึงมีบทบาทอย่างหนึ่งในการช่วยปรับให้สารสื่อประสาทเหล่านั้นกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล และทำงานเป็นระบบ นอกจากนี้ สารเอ็นโดรฟินซึ่งเปรียบได้กับฝิ่นที่มีอยู่ในคนเรานั้นเอง ที่จะหลั่งออกมาเมื่อนั่งสมาธิได้ถึงระดับหนึ่ง ก็ยิ่งทำให้จิตใจเราเป็นสุข รู้สึกปีติ อิ่มเอิบ จึงคลายเครียดได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์


โรคไทรอยด์
นั่งสมาธิ
การออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของอิมมูนซิสเต็มได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวที่มีคุณภาพ



ออกกำลังกาย
ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืชนานาชนิด ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถ "ใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร"
สำหรับคนที่ดื่มชากาแฟ ให้ลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้เป็นอย่างดี



อาหารสุขภาพ
การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ จะช่วยรักษาสมดุลจิตใจของคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ได้ดี วิธีนี้ช่วยลดความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านได้ โดยเริ่มจากการรู้จักชื่นชมตัวเองและชื่นชมคนรอบข้าง ลองนึกถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและรู้จักขอบคุณธรรมชาติ



มองโลกในแง่ดี
ควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี



มีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์
ไม่ว่าการวิธีเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมจ่อมอยู่กับปัญหา



หากิจกรรมทำเพื่อความเพลิดเพลิน
เนื่องจากว่าไอโอดินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ การให้ไอโอดินที่อาบรังสีจะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การรักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทาน Iodine ที่อาบรังสีซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลาย หรือแคปซูล I-131 นี้จะไปจับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลใน 6-18 สัปดาห์ ก่อนได้รับสารนี้ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่�! �นทุกครั้ง



การรับประทานน้ำแร่
ห้ามใช้ Radioactive iodine ในคนท้อง หญิงให้นมบุตร ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนให้สารนี้และควรจะคุมกำเนิดหลังจากได้ยานี้อีก 4 เดือน



การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับน้ำแร่

ถ้าหากท่านตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับน้ำแร่
ถ้าท่านเลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเองให้งดให้นมบุตรเนื่องจากน้ำแร่สามารถผ่านทางน้ำนมได้

ไม่มีความคิดเห็น: