เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (HRH the Prince Charles, The Prince of Wales) มีพระนามเต็มว่า ชาร์ลส์ ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ วินด์เซอร์ (Charles Philip Arthur George Windsor) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 พระองค์เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์อังกฤษและเครือจักรภพ โดยดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้า
ชายแห่งเวลส์ ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2501 ยกเว้นที่
สกอตแลนด์ ซึ่งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ดยุคแห่งโรเตสเซย์ พระองค์เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 หากแต่มีลำดับพระอิสริยยศเป็นที่ 3 ใน
ลำดับโปเจียมต่อจาก
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและ
เจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะว่าที่กษัตริย์พระองค์ต่อไปของ
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ไอร์แลนด์เหนือและประเทศใน
เครือจักรภพ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนับตั้งแต่ได้ทรงเจริญพระชนม์พอสมควร อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักจากการทรงเสกสมรสกับ
เลดี้ไดอานา สเปนเซอร์และความรักอันอื้อฉาวของพระองค์กับ
คามิลลา ปากเกอร์โบลส์ วัยเด็ก โดยปกติแล้วพระราชวงศ์ที่มีพระชนม์ระหว่าง 5-8 พรรษานั้นจะได้รับการศึกษาส่วนพระองค์ที่พระอาจารย์เข้ามาจัดการสอนถวายที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม หากแต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก (และรัชทายาทของอังกฤษพระองค์แรก) ที่เสด็จเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน โดยทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮ้าส์ในเมือง
ลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่ง
เจ้าฟ้าชายฟิลิปส์พระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน
เจ้าชายทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากแคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยม
เจ้าชายแห่งเวลส์ ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ใน
สมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับ
เลดี้ซาราห์และ
เลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดี้ฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก
มีคำร่ำลือว่า นอกจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว
คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์ คนรักเก่าของเจ้าชาย (และพระชายาพระองค์ปัจจุบัน) ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนพระองค์ให้เลือกหญิงสาววัย 19 ปี เลดี้ ไดอานา ผู้ช่วยครูโรงเรียนอนุบาลมาเป็นพระชายา
สำนักพระราชวังประกาศเมื่อวันที่
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่
โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่
29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แขกจำนวน 3500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี
ไดอานาเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ
อภิเษกสมรส เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ
เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ
21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก
มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชา
ภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและ
ประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับ
ปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่
ประเทศชิลี เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ประสูติ
15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุด
นาซี) อีกทั้งยังมีข่าวลือว่าแท้จริงแล้วพระองค์อาจไม่ใช่พระโอรสของเจ้าชายชาลส์
พระโอรส เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค
bulimia (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าฟ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากทรงโปรดลูกสาวของ
คามิลลามากอีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รี่อาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสกสมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของ
เจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "
สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่
สงครามแห่งเวลส์
ทรงหย่า ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่กรุง
ปารีส ประเทศ
ฝรั่งเศส ในปี
พ.ศ. 2540 มีบางแหล่งข่าวระบุว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงอยู่เบื้องหลังอุบัติเหตุที่ปลงพระชนม์ไดอาน่า ตำรวจเริ่มการสืบสวนเมื่อปี 2004 หากแต่หยุดการสืบสวนลงเนื่องจากคำของร้องของเจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าชายแฮร์รี่
ดูรายละเอียดเพิ่มที่
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ อภิเษกสมรสครั้งที่สอง ตั้งแต่แรกเสด็จพระราชสมภพตราบจนสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จขึ้นครองราชย์
ตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธเสด็จขึ้นครองราชย์แต่ก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์
หลังทรงรับพระราชทานสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์
His Royal Highness Prince Charles of Edinburgh His Royal Highness The Duke of Cornwall His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศ
สกอตแลนด์)
His Royal Highness The Prince of Wales His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศ
สกอตแลนด์)